วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

รวมหนังสือนิทานอีบุ้ค (e-book)


ขอแนะนำ         บล็อกที่รวบรวมผลงานหนังสือนิทานอีบุ้ค 
(e-book) หรือหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ 
ผลงานทั้งหมดจัดทำขึ้นโดยนักศึกษาที่เรียนในรายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสานสนเทศเพื่อการศึกษา สอนโดย อาจารย์อัจฉริยะ วะทา โดยบล็อกนี้มีชื่อว่า

มีหนังสือนิทานอีบุ้คที่เป็นฝีมือของนักศึกษาในหลายๆ สาขา หลายเรื่องน่าอ่านและสามารถโหลดเก็บไว้หรือนำไปสอนได้ด้วย 

นอกจากนี้ก็ยังรวมผลงานการจัดทำบล็อกของนักศึกษาแต่ละสาขาวิชา จัดทำเพื่อเผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับความรู้ที่น่าสนใจไว้มากมาย


อย่าลืมนะครับ   เป็นเว็บที่อยากจะแนะนำ เหมาะสำหรับผู้ที่อยากจะทำหนังสือแบบทำมือและทำเป็นอีบุ้ค (e-book) ด้วย อย่าลืมบล็อก 


วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

นางประทุมวดี

จากวรรณคดีเรื่อง  โสวัต(ชาดกนอกนิบาต)




           เรื่องโสวัตหรือโสวัต นางประทุม เป็นนิทานโบราณที่ได้รับความนิยมในสังคมไทยสมัยอยุธยาสืบมาถึงสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น เรื่องย่อตามที่กล่าวในกลอนสวดสรุปได้ดังนี้
                พระ เจ้าพรหมทัต กษัตริย์แห่งเมืองพรหมกุฎ มเหสีชื่อสุมณฑาเทวี ประสูติโอรสนามว่า โสวัตกุมาร ขณะที่กำลังทรงพระครรภ์นั้น นางม้าตัวหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ใต้ถุนปรางค์ปราสาทก็ตั้งท้องและตกลูกเป็นม้าอาชา ในวันเดียวกับที่โสวัติประสูติ ยังมีนางฟ้าองค์หนึ่งจุติลงมาเกิดในดอกบัวใกล้อาศรมของพระดาบสที่ป่าหิมพานต์ พระดาบสพบเข้าก็นำมาเลี้ยงเป็นธิดา ให้นามตามชาติกำเนิดว่า ประทุมวดี อยู่มาจนอายุย่างเข้ารุ่นสาว วันหนึ่งนางเก็บดอกไม้ร้อยกรองเป็นพวงมาลัย เสี่ยงไปตามสายธารใกล้อาศรมทั้งอธิษฐานว่า หากใครเป็นคู่ของนางขอให้มาลัยนี้ลอยไปคล้องข้อมือผู้นั้นไว้ วันนั้นโสวัตกุมารลงสรงสนานในแม่น้ำ พวงมาลัยของนางประทุมวดีก็ลอยเข้าสวมข้อพระกรไว้ โหรทำนายว่า หากพระองค์เสด็จไปทางทิศตะวันออกจะได้เจ้าของมาลัยเป็นคู่ครอง

                 โสวัตกุมารสั่งให้เตรียมม้าอาชาไนยคู่บารมี ครั้นเสด็จประทับ ม้าก็โผนขึ้นบนอากาศ พาเหาะไปจนถึงอาศรมของพระดาบส ขณะนั้นพระดาบสไม่อยู่ โสวัตกุมารซุ่มดูอยู่พบนางประทุมวดีกำลังไกวชิงช้า ขับลำนำถึงมาลัยที่นางเสี่ยงไปตามสายน้ำ โสวัตจึงแสดงตนว่าเป็นผู้ได้มาลัยเสี่ยงทายของนางและติดตามมาจนพบเจ้าของ ทั้งสองฝากรักกันด้วยความเสน่หา
                เมื่อพระดาบสกลับมาโสวัตกุมารก็ฝาก ตัวเป็นศิษย์ ขอศึกษาวิชาอยู่ที่อาศรมนั้น อยู่มาพระดาบสก็จัดการอภิเษกโสวัตกับนางประทุมวดีให้ครองคู่กัน เวลาล่วงไปจนนางประทุมวดีตั้งครรภ์อ่อนๆ ฝ่ายม้าอาชาไนยท่องเที่ยวไปตามลำพังจนถึงกรุงชนบทของท้าวจิตราสูรจึงถูกพญายักษ์เจ้าเมืองจับขังไว้ในกรงเหล็ก
                วันหนึ่งโสวัตกับนางประทุมวดีเที่ยวแสดงหาผลไม้ในป่าไปถวายพระดาบส พรานป่านายหนึ่งเที่ยวล่าสัตว์ได้เห็นรูปนางประทุมวดีเข้า ก็ใคร่จะได้นางไปถวายพระราชาของตน จึงใช้ธนูพิษลอบยิงโสวัตจนสิ้นพระชนม์ แล้วบังคับให้นางประทุมวดีเดินทางไปกับตน เวลาล่วงไป ๑๕ วัน นางประทุมวดีทำอุบายให้พรานป่าวางใจแล้วใช้มีดทำร้ายจนพรานป่าถึงแก่ความตาย นางประทุมวดีเดินป่าตามลำพังจนถึงริมฝั่งแม่น้ำใหญ่แห่งหนึ่ง มีนายสำเภาแล่นเรือมาพบเข้า เห็นนางมีรูปโฉมงดงามก็ใคร่จะได้นางเป็นภริยา จึงบังคับให้ลงเรือไปด้วย นางทำอุบายหลอกนายสำเภาลงเรือเล็กหนีไปได้
                ฝ่ายพระดาบสคอยทั้งสองอยู่ที่อาศรมจนค่ำ เห็นผิดสังเกตก็ออกตามหา พบโสวัตถูกทำร้ายสิ้นชีพอยู่เพียงผู้เดียว จึงชุบชีวิตให้ฟื้นขึ้นและให้รีบติดตามนางประทุมวดีไป โสวัตได้รับความช่วยเหลือและได้ข่าวม้าอาชาไนยจากนางเงือกน้ำ กระทั่งเดินทางไปถึงกรุงชนบทของท้าวจิตราสูรและลอบได้นางพี่เลี้ยงศรีวรดี กับนางศุภลักษณ์ธิดาของท้าวจิตราสูรเป็นชายา โสวัตอยู่กับนางได้ระยะหนึ่งก็ทำอุบายจนได้ม้าอาชาไนยคืนแล้วออกติดตามหานาง ประทุมวดีจนพบและกลับคืนยังบ้านเมือง



นางในวรรณคดีไทย : ประทุมวดี  จาก ละครนอกเรื่องโสวัต

นางศกุนตลา


จากวรรณคดีเรื่อง  ศกุลตลา





                 พระวิความิตรเกิดนึกอยากมีฤทธิ์มากๆ จึงสละราชสมบัติ ออกบำเพ็ญตบะในป่าจนแก่กล้ายิ่ง ทำให้้เหล่าเทวดาพากันเดือดร้อนไปทั่ว พระอินทร์คิดแก้ไข โดยให้นางฟ้าเมนกา ลงมาใช้ความงามยั่วยวน เพื่อทำให้พระฤาษีตนนี้ไม่มีกะจิตกะใจจะบำเพ็ญเพียร ทั้งสองจึงครองคู่กัน จนกระทั่งให้กำเนิดธิดานางหนึ่ง พระวิศวามิตร

เมื่อผ่านพ้นระยะข้าวใหม่ปลามันเกิดคิดได้ จึงบอกนางเมนกากลับสวรรค์ ส่วนพระองค์ก็ออกไปจักรวาล
ทิ้งพระธิดาน้อยๆ อยู่ในป่าแต่เพียงลำพัง ยังดีที่ได้พวกนกคอยเลี้ยงดู เมื่อพระกัณวะดาบส มาพบเข้า จึงให้นามนางว่าศกุณตลา ซึ่งแปลว่านางนก และนำกลับไปเลี้ยงดูอย่างธิดาที่อาศรมของตน ต่อมานางเติบโตเป็นสาวแรกรุ่นที่งดงามอย่างหาที่ติไม่ได้

                 ต่อมานางได้พบกับท้าวทุษยันต์ กษัตริย์จันทรวงศ์ แห่งนครหัสดิน ซึ่งเสด็จประพาสป่าเพื่อล่าสัตว์ แล้วบังเอิญตามกวางมาถึงบริเวณใกล้เคียง จึงแวะมายังอาศรม หมายพระทัยจะมานมัสการพระกัณวะดาบส แต่ในตอนนั้นพระกัณวะดาบสไม่อยู่ เนื่องจากเดินทางไปบูชาพระเจ้าที่เทวสถาน เพื่อสะเดาะเคราะห์ให้แก่นางพวกปีศาจมารร้ายได้ถือโอกาสเข้ามาอาละวาดที่อาศรม รังควาญการบำเพ็ญเพียรของเหล่าพราหมณ์ผู้ศิษย์พระกัณวะดาบส ท้าวทุษยันต์เสด็จมาปราบปีศาจได้สำเร็จ เมื่อท้าวทุษยันต์มีโอกาสอยู่ตามลำพัง ทั้งสองได้เป็นของกันและกัน หลังจากทุกอย่างเป็นไปตามจุดมุ่งหมายแล้ว ท้ายทุษยันต์ได้มอบแหวนวงหนึ่งให้แก่นางแล้วรีบเดินทางกลับบ้านเมือง

               เช้าวันหนึ่งพระฤาษีทุรวาส ผู้มีปากร้ายได้มาเรียกนางที่หน้าประตู แต่นางไม่รู้ตัวด้วยกำลังป่วยเป็นไข้ใจจึงไม่ได้ออกไปต้อนรับ ทำให้พระฤาษีทุรวาสโกรธ สาปให้นางถูกคนรักจำไม่ได้ ต่อมาพระฤาษีทุรวาสหายโมโห แล้วจึงรู้ว่านางไม่ได้จงใจแสดงอาการไม่เคารพกับตน จึงให้พรกำกับแก่นางว่า หากคนรักของนางได้เห็นของที่ให้ไว้เป็นที่ระลึกก็จะจำนางได้

                 พระกัณวะดาบสได้ทราบเรื่องราวต่างๆของนางกับท้าวทุษยันต์ จึงส่งนางไปให้ท้าวทุษยันต์จัดพิธีีอภิเษก ในระหว่างทางนางทำแหวนที่ท้ายทุษยันต์ประทานให้ตกหายไปในแม่น้ำ เมื่อไปถึงที่หมาย ท้าวทุษยันต์จำนางไม่ได้ จนกระทั่งกุมภิล ชาวประมงจับได้ปลาที่กลืนแหวนนั้นไปจึงนำไป เมื่อท้าวทุษยันต์เห็นก็ได้สติ จำเรื่องราวต่างๆได้ สุดท้าย ท้าวทุษยันต์ก็ได้พบกับนางศกุนตลาอีกครั้ง หลังจากพลัดพรากจากกันไปเนิ่นนาน ด้วยความช่วยเหลือของพระเทพบิดรและพระเทพมารดร แล้วทั้งสองก็อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข


นางในวรรณคดีไทย : ศกุนตลา  จาก บทละครรำ ศกุนตลา

นางรจนา


จากบทละครนอกเรื่องสังข์ทอง



      บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย นางรจนาเป็นธิดาองค์สุดท้ายจากจำนวน 7 องค์ ของท้าวสามลหลังจากพี่ทั้งหกเลือกคู่ได้อย่างเหมาะสม แต่นางรจนากลับเลือกได้พระสังข์ที่ปลอมเป็นเจ้าเงาะรูปชั่วตัวดำจนต้องถูกเนรเทศไปอยู่ที่กระท่อมปลายหน้า สุดท้ายพระอินทร์ต้องแปลงร่างมาท้าตีคลีเพื่อช่วยให้เจ้าเงาะได้ถอดรูปให้ทุกคนเห็นรูปทองและความสามารถเช่นชายชาติกษัตริย์ที่มีอยู่
เนื้อเรื่อง
ท้าวยศวิมลมีมเหสีชื่อ นางจันท์เทวี มีสนมเอกชื่อนางจันทา ไม่มีโอรสธิดา จึงบวงสรวงและรักษาศีลห้าเพื่อขอบุตร และประกาศแก่พระมเหสีและทางสนมว่าถ้าใครมีโอรสก็จะมอบเมืองให้ครอง อยู่มานางจันท์เทวีทรงครรภ์ เทวบุตรจุติมา เป็นพระโอรสของนาง แต่ประสูติมาเป็นหอยสังข์ นางจันทาเกิดความริษยา จึงติดสินบนโหรหลวงให้ทำนายว่าหอยสังข์จะทำให้บ้านเมืองเกิดความหายนะท้าวยศวิมลหลงเชื่อนางจันทา จึงเนรเทศนางจันท์เทวีและหอยสังข์ไปจากเมือง
นางจันท์เทวีพาหอยสังข์ไปอาศัยตายายช่าวไร่ ช่วยงานตายายเป็นเวลา ๕ ปี พระโอรสในหอยสังข์แอบออกมาช่วยทำงาน เช่น หุงหาอาหาร ไล่ไก่ไม่ให้จิกข้าว เมื่อนางจันท์เทวีทราบก็ทุบหอยสังข์เสีย พระสังข์เห็นเช่นนั้นก็ร้องไห้รำพัน และนางจันท์เทวีเลี้ยงพระสังข์มาด้วยความรัก ฝ่ายท้าวยศวิมลเศร้าพระทัย เพราะอาลัยอาวรณ์นางจันท์เทวีมาก นางจันทาสังเกตเห็นงุ่นง่านใจกลัวจะไม่ได้เป็นใหญ่ จึงให้ยายเฒ่าสุเมธามาทำเสน่ห์ให้ท้าวยศวิมลหลงรักและทูลยุยงว่านางจันท์เทวีมีลูกชายมาอยู่ด้วยคนหนึ่งในป่าน่าจะเป็นลูกชู้ นำความเสื่อมเสียมาแก่ท้าวยศวิมล ให้ประหารพระสังข์เสีย ท้าวศวิมลหลงเชื่อ สั่งประหารพระโอรสของตนแต่ด้วยบุญญาธิทารกของพระสังข์ จะฆ่าอย่างไรพระสังข์ก็ไม่ตาย เมื่อท้าวยศวิมลทรงทราบว่าพระโอรสมิใช่หอยสังข์แต่เป็นพระกุมารที่มีบุญญาธิการ ท้าวเธอก็จะให้รับพระโอรสและนางจันท์เทวีกลับวัง แต่ถูกนางจันทาทัดทานไว้ และในที่สุดนางจันทาเสนอให้เอาไปถ่วงน้ำจมหายไปต่อหน้าพระมารดา ด้วยบุญของพระสังข์ ถูกหินถ่วงจมลงไปตรงปล่องนาคาอันเป็นประตูสู่เมืองบาดาล พญานาคคือท้าวภุชงค์มาพบเห็นพระสังข์นอนสลบอยู่ จึงนำไปเลี้ยง แต่เห็นว่าจะเลี้ยงกันไม่สะดวกเพราะตนเป็นนาค จึงส่งพระสังข์ไปให้เพื่อนรักคือนางพันธุรัตเลี้ยงดู นางพันธุรัตเป็นยักษ์ สามีเสียชีวิตแล้ว นางเลี้ยงพระสังข์ด้วยความรักอย่างจริงใจนางพันธุรัตและพี่เลี้ยงแปลงเป็นมนุษย์เลี้ยงพระสังข์มาจนอายุ ๑๕ ปี นางพันธุรัตห้ามขาดไม่ให้พระสังข์เข้าไปที่หวงห้ามแห่งหนึ่ง แต่วันหนึ่งเมื่อนางพันธุรัตไปหากินตามปกติ พระสังก็แอบเข้าไปที่นั่น ไปพบซากโครงกระดูกมนุษย์และสัตว์ใหญ่ เช่น ช้าง เสือ กวาง พบบ่อปิดบ่อหนึ่งเป็น บ่อเงิน อีกบ่อ เป็นบ่อทอง มีรูปเงาะ เกือกแก้วและไม้เท้า เมื่อลองสวมชุดเงาะและเกือกแก้วดูก็ สามารถเหาะไปมาได้ พระสังข์จึงวางแผนหลบหนีนางพันธุรัตเพื่อจะไปหาพระมารดา แล้ววันหนึ่งพระสังข์ก็ลงชุบตัวในบ่อทองแล้วสวมรูปเงาะจะเหาะหนีไป
นางพันธุรัตติดตามไป พระสังข์อธิษฐานไม่ให้นางพันธุรัตขึ้นไปได้ นางอ้อนวอนให้พระสังข์ลงมาหา แต่พระสังข์ไม่ยอมลงมา นางจึงเขียนมนต์เรียก เนื้อเรียกปลาไว้ให้ที่แผ่นศิลาเชิงเขา เรียกว่ามหาจินดามนต์ นางพันธุรัตร้องไห้อ้อนวอนพระสังข์จนทระทั่งอกแตกตายด้วยความอาลัยรักพระสังข์ ซึ่งขณะนั้นพระสังข์ก็สับสน ไม่เชื่อในคำของนาง พระสังข์ลงมาจัดการเรื่องศพพระมารดา โดยสั่งไพร่พลให้จัดการใส่พระเมรุ พระสังข์ก็ท่องมนต์ แล้วเหาะไปจนถึงเมืองท้าวสามนต์
ท้าวสามนต์มีธิดา ๗ นาง อยากจะให้นางทั้งเจ็ดมีคู่ เพื่อท้าวสามนต์จะได้ยกเมืองให้แก่เขยที่สามารถ มีปัญญาดี เป็นกษัตริย์ครองเมืองต่อไป พี่นางทั้งหกของนางรจนาเลือกได้เจ้าชายต่างเมืองเป็นสามี แต่รจนาธิดาองค์สุดท้องไม่เลือกใคร ท้าวสามนต์ให้ป่าวร้องชาวเมืองมาให้เลือกอีกหน รจนาไม่เลือก ในที่สุด ให้นำเจ้าเงาะมาให้เลือก ตั้งใจจะประชดนางรจนาที่ไม่เลือกใคร เลยนำเจ้าเงาะมาให้เลือก พระสังข์ในรูปเงาะเห็นนางรจนาก็พอใจในความงามของนาง จึงอธิษฐานให้นางเห็นรูปทองของพระองค์ซึ่งซ่อนอยู่ในรูปเงาะ รจนาได้เห็นรูปที่แท้จริงของพระสังข์ จึงเสี่ยงพวงมาลัยให้เจ้าเงาะ ท้าวสามนต์เสียใจมากจึงขับไล่นางรจนาให้ไปอยู่กับเจ้าเงาะที่ปลายนา ท้าวสามนต์รู้สึกอับอายและเสียเกียรติอย่างมากที่รจนาได้เจ้าเงาะเป็นสามี จึงวางแผนคิดฆ่าเจ้าเงาะโดยให้เขยทั้ง ๗ คนไปหาปลามาคนละ ๑๐๐ ตัว ใครได้น้อยจะถูกฆ่า พระสังข์ร่ายมนต์เรียกปลามาชุมนุมกัน หกเขยจึงหาปลาไม่ได้เลย มาพบพระสังข์ก็สำคัญผิดว่าเป็นเทวดาจึงขอปลาพระสังข์จึงให้ปลาคนละ ๒ ตัวโดยขอแลกกับการเชือดปลายจมูก ท้าวสามนตร์โกรธมากที่อุบายไม่เป็นผล จึงสั่งให้เขยทุกคนไปหาเนื้ออีก และก็เหมือนครั้งก่อน ด้วยเวทมนตร์ของพระสังข์ ฝูงเนื้อทรายทั้งหลายก็ไปชุมนุมอยู่กับพระสังข์ หกเขยได้เนื้อทรายไปคนละตัวโดยแลกกับการถูกเชือดใบหู
พระอินทร์รู้สึกว่าอาสน์ที่ประทับของพระองค์แข็งกระด้าง จึงส่องทิพยเนตรดูก็เห็นว่านางรจนามีความทุกข์เพราะเจ้าเงาะไม่ยอมถอดรูป ทำให้ต้องตกระกำลำบากและถูกท้าวสามนต์หาเหตุแกล้งอยู่เนืองๆ พระองค์จึงแปลงองค์ลงมาท้าตีคลีพนันเอาเมืองทับท้าวสามนต์ ท้าวสามนต์ให้หกเขย ไปตีคลีก็พ่ายแพ้ จึงจำใจไปอ้อนวอนเจ้าเงาะ เจ้าเงาะถอดรูปเป็นพระสังข์งดงามถูกใจท้าวสามนต์ ยิ่งได้ทราบว่าเป็นโอรสกษัตริย์ด้วยก็ยิ่งพอใจ พระสังข์ไปตีคลีได้ชัยชนะเพราะพระอินทร์แสร้งหย่อนอ่อนมือให้ พระอินทร์ไปเข้าฝันท้าวยศวิมลพระบิดาของพระสังข์เพื่อสั่งสอนให้รู้ดีรู้ชั่วและสั่งให้ไปรับนางจันท์เทวีเพื่อไปตามพระสังข์ ท้าวยศวิมลรับนางจันท์เทวีเดินทางไปตามพระสังข์ที่เมืองท้าวสามนต์ นางจันท์เทวีเข้าไปช่วยทำอาหารในฝ่ายที่ต้องทำอาหารถวายพระสังข์ นางนำชิ้นฟักมาแกะสลัก เป็นเรื่องราวชีวิตตั้งแต่หนหลังแล้วนำมาแกง พระสังข์เสวยแกงเห็นชิ้นฟักก็สงสัยจึงนำมาเรียงกันแล้วก็รู้เรื่องทั้งหมด ในที่สุดพ่อแม่ลูกก็ได้พบกันด้วยดี ท้าวยศวิมลขอโทษในความหลงผิดของตน และชวนกันกลับบ้านเมือง


นางในวรรณคดีไทย : รจนา  จาก สังข์ทอง

นางไอ่คำ

จากตำนานพื้นบ้านเรื่อง ผาแดงนางไอ่





นางไอ่คำ (ธิดาพระยาขอม) จากตำนานพื้นบ้านเรื่อง ผาแดงนางไอ่
นิทานท้องถิ่นอีสาน ที่สืบทอดกันมาตามตำนานเล่าขานสืบต่อมา มูลเหตุที่ทำให้เกิด "หนองหาน" เป็นวรรณคดีพื้นบ้านที่กล่าวถึงการทำบุญบั้งไฟ วัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่ของชาวอีสาน นางไอ่คำมีสิริโฉมงดงามเป็นที่เลื่องลือไปในนครต่างๆ ทั้งโลกมนุษย์และบาดาลจึงมีชายหนุ่มหมายปองมากมาย รวมทั้งท้าวผาแดงแห่งเมืองตาโพง และท้าวพังคี โอรสพญาสุทโธนาค เมืองบาดาล ซึ่งทั้งสองได้ผูกพันกับนางไอ่คำมาตั้งแต่อดีตชาติ ต่างช่วงชิงได้เคียงคู่กับนาง แต่ท้าวทั้งสองก็ต้องพลาดหวังเพราะแข่งขันบั้งไฟแพ้ ด้วยความรักและต้องการตัวนางไอ่คำ ท้างพังคีได้แปลงกายเป็นกระรอกเผือกคอยติดตามนางไอ่คำ สุดท้ายถูกฆ่าตาย ทำให้พญาสุทโธนาคผู้เป็นพ่อโกรธแค้นเข้ามาถล่มเมืองล่มไปกลายเป็นหนองน้ำใหญ่ คือ หนองหานในปัจจุบัน...
เนื้อเรื่อง
ตำนานพื้นบ้านเรื่องผาแดง-นางไอ่ มีความโดยย่อ คือ นางไอ่เป็นธิดาพระยาขอมผู้ครองเมืองชะธีตา นางไอ่เป็นสตรีที่มีสิริโฉมงดงามเป็นที่เลื่องลือไปในนครต่างๆ ทั้งโลกมนุษย์และบาดาล มีชายหนุ่มหมายปองจะได้อภิเษกกับนางมากมาย
ในจำนวนผู้ที่มาหลงรักนางไอ่ มีท้าวผาแดงและท้าวพังคี โอรสสุทโธนาค เจ้าผู้ครองนครบาดาล ท้าวทั้งสองต่างเคยมีความผูกพันกับนางไอ่มาแต่อดีตชาติ จึงต่างช่วงชิงจะได้เคียงคู่กับนาง แต่ก็พลาดหวัง จึงมิได้อภิเษกทั้งคู่เพราะแข่งขันบั้งไฟแพ้
ท้าวพังคีนาคไม่ยอมลดละ แปลงกายเป็นกระรอกเผือกคอยติดตามนางไอ่ สุดท้ายถูกฆ่าตาย พญานาคผู้เป็นพ่อจึงขึ้นมาถล่มเมืองล่มไป กลายเป็นหนองน้ำใหญ่ คือ หนองหาน


นางในวรรณคดีไทย : ไอ่คำ  จาก ผาแดง-นางไอ่

นางอันโดรเมดา

จากวรรณคดีเรื่อง วิวาห์พระสมุทร



scan00741.jpg (170×232)

เนื้อเรื่องได้เค้ามาจากนิยายกรีกเก่าเชื่อว่า ถ้าหญิงงามตายในทะเลจะช่วยให้พ้นอุทกภัย จุดมุ่งหมาย เพื่อพระราชทานแก่คณะเสือป่า กองเสนาหลวงรักษาพระองค์ แสดงเก็บเงินบำรุงราชนาวีสมาคมแห่งกรุงสยาม ณ พระราชวังสนามจันทร์ กล่าวถึงประชาชนชาวกรีก ณ เกาะอัลฟะเบตา โง่เขลา หลงเชื่อในอำนาจทางทะเล เมื่อครบรอบ 100 ปี จะต้องส่งสาวพรหมจารีไปเป็นเจ้าสาวของพระสมุทร กษัตริย์มิดัสผู้ครองเกาะจำใจส่งราชธิดาชื่ออันโดรเมดาไป สังเวยทางทะเล อันโดรเมดารักอยู่กับอันเดรเนี่ยและอยากจะแต่งงานด้วย แต่ว่าพ่อของอันโดรเมดาถ้าไม่ได้ผลประโยชน์ร่วมก็จะไม่ให้แต่งงานกันแน่ พระเอกก้เลยจะทำเป็นว่าเอาเรือมาขู่ล้อมเกาะติดอยู่ที่ไม่มีเรือ จะเอายศหรือเงินทองมาให้ก็มีไม่มากเพราะพ่อตัวเองที่เป็นเจ้าเมืองเมืองอื่นเอาไปลงทุนหมด นางเอกที่ร่วมคิดแผนเลยบอกให้ไปขอกับพ่อของตนแบบตรงๆดู แต่อันเดรคู่รักของนางออกอุบาย ขอให้นายนาวาเอกเอดเวิดไลออนกัปตันเรืออังกฤษมาขู่ชาวเมืองให้ยกนางให้อันเดรนางจึงรอดชีวิต และได้แต่งงานกับอันเดรสมปรารถนา คุณค่าทางวรรณคดี เป็นบทละครสุขใจและขบขันบางตอน เป็นเรื่องรักสดชื่นจบลงด้วยคงามสุข กระบวนกลอนและฉันท์ประณีตบรรจง บทร้องเพราะทำนองดี

นางในวรรณคดีไทย : อันโดรเมดา  จาก วิวาห์พระสมุทร



นางตะเภาทอง

จากวณณรคดีเรื่อง  ไกรทอง






cde


มาจากนิทานพื้นบ้านภาคกลาง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทละครนอก นางตะเภาทองเป็นสาวงามลูกเศรษฐีเมืองพิจิตร มีพี่สาวฝาแผด ชื่อ นางตะเภาแก้ว เมื่อคราวพญาจระเข้ชื่อ ชาละวัน ออกอาละวาดในแม่น้ำ ได้คาบตัวนางตะเภาทองไป เศรษฐีผู้พ่อจึงประกาศหาคนช่วยปราบชาละวันและพาตะเภาทองกลับมา ถ้าทำสำเร็จจะยกลูกสาวทั้งสองคนให้พร้อมยกสมบัติให้ครึ่งหนึ่ง ในที่สุดได้ไกรทองอาสามาปราบจนสำเร็จ
เนื้อเรื่อง
 มีถ้ำอยู่ในแม่น้ำแห่งหนึ่ง ภายในถ้ำมีพญาจระเข้ตัวหนึ่งชื่อ พญาชาละวัน มีนางจระเข้สองตัวเป็นภรรยา คือ นางวิมาลา และนางเลื่อมลายวรรณ สามารถจะกลายร่างเป็นมนุษย์ได้ พญาชาละวันมีนิสัยดุร้าย และชอบกินเนื้อมนุษย์ไม่เหมือนกับจระเข้ที่เป็นปู่ คือท้าวรำไพที่ถือศิลภาวนาไม่กินสิ่งมีชีวิต
 วันหนึ่ง พญาชาละวันออกมาจากถ้ำเพื่อหาเนื้อมนุษย์กินเป็นอาหาร ได้ว่ายตามน้ำมาจนถึงท่าน้ำเมืองพิจิตร ได้พบสองสาวพี่น้อง ตะเภาแก้วและตะเภาทอง บุตรสาวเจ้าเมืองพิจิตรเล่นน้ำอยู่ในแม่น้ำหน้าบ้านของตนอยู่พอดี ความงามของตะเภาทอง เป็นที่ต้องตาต้องใจจึงเข้าไปคาบนางไปสู่ถ้ำของตนแล้วกลายร่างเป็นชายหนุ่ม รูปงาม และเกี้ยวพาราสีนางจนนางหลงรักและตกเป็นภรรยาคนที่สาม ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาทกันระหว่างภรรยาทั้งสามในขณะเดียวกันเจ้าเมือง พิจิตรได้ป่าวประกาศหาคนที่สามารถสังหารจระเข้และนำลูกสาวกลับมาในขณะมี ชีวิตได้ จะได้แต่งงานกับนางและได้ส่วนแบ่งในทรัพย์สมบัติของตน "ไกรทอง" เป็นชายหนุ่มอายุ 18 ปี เป็นชาวเมืองนนทบุรีได้อาสาปราบชาละวันเพราะได้เล่าเรียนวิชาอาคมมีความ ชำนาญในการปราบจระเข้และสามารถระเบิดน้ำเป็นทางเดินเข้าไปได้ ไกรทองมีของวิเศษ อย่างที่อาจารย์ให้ไว้ คือ เทียนชัย มีดหมอลงอาคม และหอกสัตตะโลหะ เพื่อใช้ปราบจระเข้
 คืนนั้นพญาชาลาวันฝันไม่ดี จึงรีบไปปรึกษาปู่ คือท้าวรำไพผู้ซึ่งรู้ว่าหลานของตนกำลังชะตาขาด จึงให้ชาละวันจำศีลอยู่ในถ้ำเป็นเวลา วัน ชาละวันเกิดความกลัวจึงสั่งให้บริวารจระเข้นำหินมาปิดปากถ้ำไว้อย่างแน่นหนา และเริ่มถือศีล ไกรทองได้ต่อแพลอยลงน้ำและประกอบพิธีเรียกชาละวันมาต่อสู้ เมื่อสุดจะทนชาละวันจึงแผลงฤทธิ์พังประตูถ้ำกลายเป็นจระเข้ใหญ่ ทั้งคู่ต่อสู้กันจนในที่สุดชาลาวันก็เพลี่ยงพล้ำถูกแทงบาดเจ็บและหนีกลับไป ยังถ้ำ ไกรทองจึงตามไปที่ถ้ำและได้เห็นวิมาลาจึงลวนลาม เพื่อยั่วให้ชาลาวันออกมาที่ซ่อน เสียงหวีดร้องของวิมาลาทำให้ชาลาวันออกมาจากที่ซ่อน แล้วถูกแทง ไกรทองสามารถช่วยตะเภาทองได้ เจ้าเมืองพิจิตรจึงมอบรางวัลให้ไกรทองตามสัญญาพร้อมกับยกลูกสาว อีกคนหนึ่งคือตะเภาแก้วให้เป็นภรรยาของไกรทองด้วย ไกรทองจึงได้สองพี่น้องเป็นภรรยาพร้อมกับสมบัติอีกส่วนหนึ่งจากท่านเจ้า เมือง ทั้งสามจึงใช้ชีวิตอยู่ในเมืองพิจิตรอย่างมีความสุข


นางในวรรณคดีไทย : ตะเภาทอง จาก ไกรทอง


นางมัทนา

จากวณณรคดีเรื่อง  มัทนะพาธา






p47989951249.jpg (320×402)



มัทนะพาธา เป็นบทละครพูดคำฉันท์ 5 องก์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2466 เล่าเรื่องว่าด้วยตำนานเกี่ยวกับดอกกุหลาบ
          เทพบุตรสุเทษณ์หลงรักเทพธิดามัทนา แต่นางไม่ปลงใจด้วย สุเทษณ์จึงขอให้วิทยาธรมายาวินใช้เวทมนตร์สะกดเรียกนางมา มัทนาเจรจาตอบสุเทษณ์อย่างคนไม่รู้สึกตัว สุเทษณ์จึงไม่โปรด เมื่อขอให้มายาวินคลายมนตร์ มัทนาก็รู้สึกตัวและตอบปฏิเสธสุเทษณ์ สุเทษณ์โกรธ จึงสาปให้เธอจุติไปเกิดบนโลกมนุษย์ มัทนาขอไปเกิดเป็นดอกกุหลาบ สุเทษณ์กำหนดว่า ให้ดอกกุหลาบดอกนั้นกลายเป็นมนุษย์เฉพาะวันเพ็ญเพียงวันและคืนเดียว ต่อเมื่อมีความรักจึงจะพ้นสภาพจากเป็นดอกไม้ และหากเป็นความทุกข์เพราะความรักก็ให้วิงวอนต่อพระองค์ พระองค์จะช่วย
ฤษีกาละทรรศินพบต้นกุหลาบจึงขุดไปปลูกไว้ที่อาศรม เมื่อมัทนากลายเป็นมนุษย์ก็เลี้ยงดูรักใคร่เหมือนลูก ท้าวชัยเสนกษัตริย์แห่งเมืองหัสตินาปุระเสด็จไปล่าสัตว์ ได้พบนางมัทนาก็เกิดความรัก มัทนาก็มีใจเสน่หาต่อชัยเสนด้วยเช่นกัน ทั้งสองจึงสาบานรักต่อกัน และมัทนาไม่ต้องกลับไปเป็นกุหลาบอีก แต่เมื่อชัยเสนพามัทนาไปยังเมืองหัสตินาปุระของพระองค์ พระนางจัณฑีมเหสีของชัยเสนหึงหวงและแค้นใจมาก นางขอให้พระบิดาซึ่งเป็นพระราชาแคว้นมคธยกทัพมาตีหัสตินาปุระ จัณฑียังใช้ให้นางค่อมข้าหลวงทำกลอุบายว่า มัทนารักกับศุภางค์ทหารเอกของชัยเสน ชัยเสนหลงเชื่อจึงสั่งให้ประหารมัทนาและศุภางค์ แต่ต่อมาเมื่อชัยเสนรู้ว่ามัทนาและศุภางค์ไม่มีความผิดก็เสียใจมาก อำมาตย์เอกจึงทูลความจริงว่ายังมิได้สังหารนาง และศิษย์ของพระกาละทรรศินได้พานางกลับไปอยู่ในป่าหิมะวันแล้ว ส่วนศุภางค์ก็เป็นอิสระเช่นกัน และได้ออกต่อสู้กับข้าศึกจนตายอย่างทหารหาญ ชัยเสนจึงเดินทางไปรับนางมัทนา ขณะนั้นมัทนาทูลขอให้สุเทษณ์รับนางกลับไปสวรรค์ สุเทษณ์ขอให้นางรับรักตนก่อน แต่มัทนายังคงปฏิเสธ สุเทษณ์กริ้วจึงสาปให้มัทนาเป็นกุหลาบตลอดไป ชัยเสนมาถึงแต่ก็ไม่ทันการณ์ จึงได้แต่นำต้นกุหลาบกลับไปยังเมืองหัสตินาปุระ


นางในวรรณคดีไทย : มัทนา จาก มัทนพาธา

นางลำหับ

จากวณณรคดีเรื่อง  เงาะป่า









      ลำหับเป็นเงาะป่า อาศัยอยู่ที่จังหวัดพัทลุง ลำหับเป็นพี่สาวของไม้ไผ่ ลำหับต้องแต่งงานกับฮเนาทั้งๆๆที่ลำหับรักใคร่ชอบพอกับซมพลา ซึ่งไม้ไผ่ต้องการให้ลำหับแต่งงามกับซมพลามากกว่าฮเนา วันหนึ่งไม้ไผ่ชอนลำหับไปเก็บดอกไม้ ได้มีงูตัวหนึ่งมารัดแขน  ลำหับตกใจจนสลบ เมื่อลำหับฟื้นพบว่าซมพลากอดนางอยู่และได้ไถ่ถามด้วยความห่วงใย และได้พูดออกมาว่า"หากเจ้าตายไป พี่นี้จักตายตาม" ลำหับได้ขอบคุณ
     การแต่งงานของฮเนากับลำหับที่ฝ่ายผู้ใหญ่ของฮเนาได้เตรียมงานไว้ งานแต่งมีขึ้นที่ต้นตะเคียน ขบวนขันหมากของเจ้าบ่าวเคลื่อนที่สู่ที่จะทำงานวิวาห์ นางลำหับได้ร้อนรนใจ ไม้ไผ่เห็นคนที่บ้านวุ่นวายก็ไปบอกซมพลา ซมพลาฝากไม้ไผ่ไปบอกลำหับว่าจะพาลำหับหนี เมื่อได้ยินดังนั้น ลำหับก็ก็เตรียมตัวเข้างานวิวาห์ การแต่งงานที่สมบูรณ์นั้นต้องเข้าป่า 7 วัน 7 คืน ฮเนาและลำหับเข้าป่า ฮเนาเข้าใกล้ลำหับ ลำหับตกใจร้องกรี๊ด อ้ายแคก็ซุ่มอยู่ก็เอาหินขว้างฮเนา ฮเนาโกรธจึงให้ลำหับรออยู่  แล้วฮเนาก็เดินออกไป ซมพลาได้เข้ามาบอกลำหับว่าจะพาหนี แล้วอุ้มนางไป  เมื่อฮเนากลับมาหาไม่เจอ จึงตามหาทั่วทั้งป่า ซมพลาได้พาลำหับมาอยู่ที่ถ้ำลึกกลางป่า มีความสัมพันธ์ลึกซึ้ง ซมพลาออกมาหาอาหารแต่ลำหับห้ามไว้เพราะกลัวจะมีอันตราย แต่ซมพลาก็ไม่ฟัง ฮเนากลับไปที่หมู่บ้าน ทุกคนลงความเห็นว่าซมพลาลักพาตัวลำหับไป ฮเนาพร้อมรำแก้ว ปองสองและปองสุดจึงออกตามหา พบซมพลาระหว่างกลับถ้ำ จึงต่อสู้กันเพราะคิดว่าซมพลาลักพาตัวลำหับ รำแก้วเห็นฮเนาออกห่างซมพลาก็เป่าลูกดอกอาบยาพิษไปโดนหน้าผากซมพลา ซมพลาเดินโซซัดโซเซไปหาลำหับและได้สั่งลา ลำหับเสียใจมากคว้ามีดแทงซอกคอตาย ฮเนาเห็นเหตุการณ์ ก็ตัดสินใจตายตามลำหับไป ฝ่ายรำแก้ว ปอสอง ปอสุดได้ทำการขุดหลุมฝังศพให้เป็นอย่างดี



นางในวรรณคดีไทย : ลำหับ  จาก เงาะป่า

พระเพื่อนพระแพง

จากวณณรคดีเรื่อง  พระลอ








        ตำนานรักพระลอ ความว่า เดิมเจ้าราชวงศ์แมนสรวงกับเจ้าราชวงศ์สรองเป็นปรปักษ์ต่อกัน แต่โอรสและธิดาของ 2 เมืองนี้เกิดรักกันและยอมตายด้วยกัน ฝ่ายชายคือพระลอเป็นกษัตริย์แห่งเมืองแมนสรวง มีพระชายาชื่อนางลักษณวดี พระลอเป็นหนุ่ม รูปงามมากเป็นที่เลื่องลือไปทั่วจนทำให้พระเพื่อนพระแพงเกิดความรักและปรารถนาที่จะได้พระลอมาเป็นสวามี พี่เลี้ยงของพระเพื่อนพระแพง ชื่อนางรื่นนางโรย ได้ออกอุบายส่งคนไปขับซอยอโฉมพระเพื่อนพระแพงให้พระลอฟัง และให้ปู่เจ้าสมิงพรายทำเสน่ห์ให้พระลอเกิดความรักหลงไหลคิดเสด็จไปหานาง
         ฝ่ายพระนางบุญเหลือชนนีของพระลอทราบ จึงหาหมอแก้เสน่ห์ได้ แต่ปู่เจ้า สมิงพรายได้เสกสลาเหิน(หมากเหิน) มาให้พระลอเสวยในตอนหลังอีก ถึงกับหลงไหลธิดาทั้งสองมากขึ้น จึงทูลลาชนนีและพระนางลักษณวดีไปยังเมืองสรอง พร้อมกับนายแก้วนายขวัญพี่เลี้ยง เมื่อมาถึงแม่น้ำกาหลงได้เสี่ยงทายกับแม่น้ำ แม่น้ำกลับวนและเป็นสีเลือด ซึ่งทายว่าไม่ดี แต่พระลอก็ยังติดตามไก่ที่ปู่เจ้าสมิงพรายเสกมนต์ล่อพระลอให้หลง เข้าไปในสวนหลวง แล้วแอบได้พระธิดาทั้งสองเป็นชายา นายแก้วนายขวัญก็ได้กับนางรื่นนางโรยพี่เลี้ยง
         เมื่อพระพิชัยพิษณุกร พระบิดาของพระเพื่อนพระแพงทราบเรื่องก็ทรงกริ้ว แต่พอทรงพิจารณาเห็นว่าพระลอมีศักดิ์เสมอกันก็หายกริ้ว แต่พระเจ้าย่า(ย่าเลี้ยง) ของพระเพื่อนพระแพงโกรธมาก เพราะแค้นที่พระบิดาของพระลอได้ประหารท้าวพิมพิสาครสวามีในที่รบ พระเจ้าย่าถือว่าพระลอเป็นศัตรู จึงสั่งทหารให้ไปล้อมพระลอที่ตำหนักกลางสวน และสั่งประหารด้วยธนู ทั้งพระลอ พระเพื่อน พระแพง และนายแก้ว นายขวัญ นางรื่น นางโรย ร่วมกันต่อสู่ทหารของพระเจ้าย่า อย่างทรหด จนสุดท้ายถูกธนูตายในลักษณะพิงกัน ตายด้วยความรักทั้ง 3 องค์
         ท้าวพิชัยพิษณุกร ทรงทราบว่าพระเจ้าย่าสั่งให้ทหาร ฆ่าพระลอพร้อมพระธิดาทั้งสององค์ ทรงกริ้วและสั่งประหารพระเจ้าย่า(เพราะมิใช่ชนนี)เสีย แล้วโปรดให้จัดการพระศพพระลอกับ พระธิดาร่วมกันอย่างสมเกียรติ และส่งทูตนำสาส์นไปถวายพระนางบุญเหลือ ชนนีของพระลอ ที่เมืองแมนสรวง สุดท้ายเมืองสรองกับเมืองแมนสรวงกลับมีสัมพันธไมตรีกันต่อมา
คติและแนวคิด
          ตำนานรักพระลอเป็นนิยายพื้นบ้านที่ให้รสวรรณคดีทุกรส ได้แก่ ความรัก ความโศก กล้าหาญ และเสียสละ ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงผลเสียของความแค้น ความอาฆาต พยาบาท ตลอดจนอนุภาพแห่งความรัก ที่เป็นอมตะรักของพระลอ พระเพื่อนพระแพง


นางในวรรณคดีไทย : เพื่อนพี่แพงน้องสองสมร จาก พระลอ

นางละเวงวัณฬา

จากวณณรคดีเรื่อง  พระอภัยมณี










        นางละเวงวัณฬาเป็นหญิงฝรั่ง ธิดาของของกษัตริย์เมืองลังกา และเป็นน้องสาวของอุษเรนผู้เป็นคู่หมั้นของนางสุวรรณมาลี เมื่อนางอายุได้ ๑๖ ปีนางต้องสูญเสียบิดาและพี่ชายไปในสงครามสู้รบระหว่างเมืองลังกาและเมืองผลึกเพื่อแย่งชิงนางสุวรรณมาลีกลับคืนจากพระอภัยมณี แม้จะเสียใจจนคิดที่จะฆ่าตัวตายตามพ่อและพี่ชายไป แต่ด้วยความแค้นและภาวะที่บ้านเมืองกำลังขาดผู้นำ นางจึงขึ้นครองเมืองลังกาแทนบิดา และตั้งใจแน่วแน่ที่จะแก้แค้นแทนบิดาและพี่ชายให้จงได้
ลักษณะนิสัย
                 บทบาทของนางละเวงในเรื่องนั้นค่อนข้างแปลกกว่าตัวผู้หญิงในเรื่องอื่นๆ คือมีลักษณะเป็นทั้งนางเอกและผู้ร้ายก้ำกึ่งกัน
                 ในตอนต้นนางทำศึกโดยการใช้เล่ห์กลอุบายตามคำแนะนำของบาทหลวง ทั้งนี้ด้วยคามแค้นที่พ่อและพี่ชายถูกฆ่าตายด้วยฝีมือชาวเมืองผลึก แม้ว่าความพยายามของนางในตอนต้นๆจะไม่ได้ผลเต็มที่ นางก็ไม่ละความพยายาม จนกระทั่งพระอภัยมณียกทัพข้ามไปราวีกรุงลังกาเสียเอง ทั้งๆที่มีความเกลียด ความโกรธ ความอาฆาตแค้นอยู่เต็มอก แต่พอนางได้พบหน้า และต่อปากต่อคำกับพระอภัยมณีศัตรูคนสำคัญเพียงครั้งเดียว นางก็ชักจะเรรวนไปข้างเสน่หาพระอภัยมณีเสียแล้ว แต่ด้วยความที่เป็นเจ้าเมืองลังกา นางละเวงจึงยอมตัดใจไม่เกี่ยวข้องกับพระอภัยมณีเป็นอันขาด แต่จะยกกองทัพกลับมาต่อสู้ให้ชนะให้จงได้ การที่จะทำศึกกับคนที่ตนรักนั้นไม่ใช่ของง่าย นางละเวงเองก็ทรมานใจ
                                         “เมื่อต่างชาติศาสนาเป็นข้าศึก    สุดจะนึกร่วมเรียงเคียงเขนย
ขอสู้ตายชายอื่นไม่ชื่นเชย           จนล่วงเลยสู่สวรรค์ครรไล”



นางบุษบา

จากวณณรคดีเรื่อง  อิเหนา







       นางบุษบาเป็นธิดาของท้าวดาหาและประไหมสุหรีดาหราวาตี แห่งกรุงดาหา เมื่อตอนประสูติมีเหตุอัศจรรย์คือ มีกลิ่นหอมตลบอบอวลไปทั่วทั้งวัง ดนตรี แตรสังข์ก็ดังขึ้นเองโดยไม่มีผู้บรรเลง ประสูติได้ไม่นาน ท้าวกุเรปันก็ขอตุนาหงันให้กับอิเหนา
       บุษบาเป็นหญิงที่งามล้ำเลิศกว่านางใดในแผ่นดินชวากิริยามารยาทเรียบร้อย คารมคมคาย เฉลียวฉลาดทันคนใจกว้างและมีเหตุผล จึงผูกใจให้อิเหนารักใคร่ใหลหลงนางยิ่งกว่าหญิงอื่น 
นอกจากนั้นบุษบายังเป็นลูกที่ดีอยู่ในโอวาทของพระบิดา พระมารดา ยอมแต่งงานกับระตูจรกา แม้ว่าจะไม่พอใจในความขี้ริ้วขี้เหร่ของระตูจรกาก็ตาม
        นางถูกเทวดาบรรพบุรุษ ของวงค์อสัญแดหวาคือ องค์ปะตาระกาหลาบันดาลให้ลมพายุหอบไป ทำให้นางต้องพลัดพรากจากอิเหนา และพระบิดาพระมารดาเป็นเวลาหลายปี กว่าจะได้พบอิเหนาและวิวาห์กัน โดยนางได้ตำแหน่งเป็นประไหมสุหรีฝ่ายซ้าย

ลักษณะนิสัย
1.บุษบาเป็นหญิงที่มาแบบฉบับของลูกที่ดีอยู่ในโอวาทของพ่อแม่ แม้ว่านางจะไม่พอใจในรูปร่างของจรกา แต่นางก็ยอมที่จะไม่ทำตามใจตนเองเพื่อรักษาชื่อเสียงของวงศ์ตระกูล
2. เป็นคนไม่เจ้ายศเจ้าอย่างหรือถือว่าตนสูงศักดิ์กว่านางจินตะหรา เห็นได้จากตอนที่จินตะหราได้ให้นางสการะวาตีและนางมาหยารัศมีมาเฝ้า บุษบาก็ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี
3. เป็นคนไม่เหลาะแหละ รู้จักโต้เถียงแสดงความฉลาดรู้ทันอิเหนาและรักษาเกียรติของตนเองไม่ยอม หลงเชื่ออย่างง่ายๆ ในตอนที่อิเหนาพูดว่า 
 "อันนางจินตะหราวาตี     ใช่พี่จะมุ่งมาดปรารถนา 
 หากเขาก่อก่อนอ่อนมา     ใจพี่พาลาก็งวยงง……"
จากที่อิเหนาพูดนี้ก็ทำให้นางบุษบารู้ว่าอิเหนาเจรจาเข้าข้างตัวเอง นางก็โต้ตอบว่าอย่ามาแกล้งพูดเลยว่าจะไม่เลี้ยงนางจินตะหราวาตี เพราะมีลายลักษณ์อักษรและใครๆก็รู้กันทั่วว่าอิเหนาไม่ต้องการนาง นางจึงโต้ตอบ เมื่ออิเหนาแก้ตัวว่าที่ลักนางมาก็ด้วยความรักว่า
" จะให้เชื่อพจมานหวานถ้อย  จะได้ไปเป็นน้อยชาวหมันหยา
เขาจะเชิดชื่อฤาชา            ว่ารักสามีท่านกว่าความอาย
อันความอัปยศอดสู      จะติดตัวชั่วอยู่ไม่รู้หาย
ร้อนใจอะไรเล่าเจ้าเป็นชาย    ไม่เจ็บอายขายหน้าก็ว่าไป "
และตอนที่ นางบวชเป็นแอหนัง (ชี ) แลัวถูกปันหยีขโมยกริชไป นางก็คร่ำครวญต่อว่าพี่เลี้ยงด้วยความรักเกียรติสตรีว่า 
"พี่แกล้งเป็นใจด้วยปันหยี   เห็นคนอื่นดียิ่งกว่าข้า
ในถ้อยคำที่ร่ำพรรณนา       ว่าแสนเสน่หาอิเหนานัก
เป็นไฉนจึงยกน้องให้         แก่ชาวไพร่ต่ำช้าบรรดาศักดิ์
กระนี้ฤาพี่เรียกว่ารัก       พึ่งจะประจักษ์ในน้ำใจ
สู้ตายชายอื่นมิให้ต้อง      อันจะมีผัวสองอย่าสงสัย
ถึงมาตรแม้นชีวันจะบรรลัย    จะตายในความซื่อสัตยา"
4. เป็นคนที่มีความเป็นตัวของตัวเองแม้ว่านางจะตกอยู่ในสภาพที่ถูกบังคับ โดยนางไม่ยอมทำตามผู้ใหญ่ ดังตอนที่ท้าวดาหามีดำรัสให้ขึ้นมาเข้าเฝ้าอิเหนา นางรู้ว่าจะให้ไปไหว้จึงเข้าไปนอนด้วยความเคืองไม่เข้าเฝ้าตามรับสั่ง จนเดือดร้อนถึงมะเดหวีต้องมาจัดการ แต่นางก็ไม่ออกมาโดยดีๆ ต้องผลักไสกัน
5.มีความซื่อสัตย์ ได้รักษาตัวไว้รอคอยอิเหนา ดังกลอนว่า
"ถึงมาตรสู้ตายชายอื่นมิให้ต้อง   อันจะมีผัวสองอย่าสงสัย
แม้นชีวันจะบรรลัย                      จะตายในความซื่อสัตยา"
6.ไม่มีจริตแง่งอน เมื่ออิเหนาลักพานางไปไว้ในถ้ำ ก็ยินยอมแต่โดยดี
7.เมื่อเป็นชาย คือมิสาอุณากรรณก็ปฏิบัติตนกับระตูประมอตันอย่างบิดาของตน
8.มีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ เช่น ระตูประมอตัน
9.มีความกล้าหาญจนมีระตูมาขอเป็นเมืองขึ้นหลายเมือง
10.ไม่มีความริษยาถือโกรธผู้ใด มีน้ำใจ เมื่อมารดาให้ไหว้นางจินตะหรา บุษบาก็ยอมตาม ดังที่นางกล่าวกับอิเหนาว่า
"แม้นน้องรักทักท้วงหวงหึง    พระองค์จึงห้ำหั่นเกศา
เป็นถ้อยยำคำมั่นน้องสัญญา     เชิญเสด็จเชษฐารีบคลาไคล"
และนางยอมให้อิเหนายกจินตะหราเป็นประไหมสุหรีฝ่ายขวาแต่โดยดี ด้วยเห็นว่านางจินตะหราเป็นผู้มาก่อน แม้ว่าจินตะหราจะไม่ใช่วงศ์เทวัญฯ ข้อนี้ยากที่จะหาหญิงใดเสมอเหมือน นับว่าบุษบาเป็นหญิงไทยในวรรณคดีที่สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติคนหนึ่ง







นางมโนห์รา

จากวรรณคดีเรื่อง  พระสุธน - มโนห์รา






    นางมโนราห์เป็นธิดาองค์เล็กของท้างทุมราชผู้เป็นพระยากินนร  นางมีพระพี่นางอีกหกองค์ล้วนมีหน้าตาเหมือน ๆ  กัน  งดงามยิ่งกว่านางมนุษย์  รูปร่างหน้าตาของพวกเขาเหมือนมนุษย์แต่มีปีกและหางที่ถอดออกได้  เมื่อใส่ปีกใส่หางแล้วกินนรก็สามารถบินไปยังที่ต่าง ๆ ได้ นางมโนราห์และพี่น้องทั้งหกได้ไปเล่นน้ำที่สระน้ำอโนดาต เจอพรานบุญที่ต้องการจับตัวนางกินรีเพราะเห็นว่านางงดงามคู่ควรแก่พระสุธน โอรสแห่งเมือง ปัญจาลนคร  พรานบุญจึงไปยืมบ่วงนาคบาศจากท้าวชมพูจิต พญานาคราช ซึ่งได้ให้ยืมบ่วงนาคบาช เพราะพรานบุญเคยช่วยชีวิตเอาไว้และเห็นว่าพระสุธนกับนางมโนราห์เป็นเนื้อคู่กัน พรานบุญได้จับนางมโนราห์ไปถวายแค่พระสุธน พระสุธนเห็นเข้าก็เกิดหลงรักนางและพานางกลับเมือง และได้อภิเษกกัน ต่อมาปุโรหิตคนหนึ่งได้เกิดจิตอาฆาตแค้นแก่พระสุธนเพราะว่าพระสุธนไม่ให้ตำแหน่งแก่บุตรของตน เมื่อถึงคราวเกิดสงคราม พระสุธนออกไปรบ พระบิดาได้ทรงพระสุบิน ปุโรหิตได้ทำนายว่าจะเกิดภับพิบัติครั้งใหญ่  ให้นำนางมโนราห์ไปบูชายัญ ซึ่งท้าวอาทิตยวงศ์ได้ยินยอมตามนั้น นางมโนราห์รู้เข้าก็เกิดตกใจ จึงออกอุบาย ของปีกกับหางขอนางคืน เพื่อร่ายรำหน้ากองไฟก่อนจะตาย เมื่อนางได้ปีกกับหางแล้ว นางก็ร่ายรำได้สักพักก็บินหนีไป ไปเจอฤาษีก็ได้กล่าวกับฤาษีว่า หากพระสุธนตามมาให้บอกว่าไม่ต้องตามนางไป เพราะมีภยันอันตรายมากมาย และได้ฝากภูษาและธำมรงค์ให้พระสุธน เมื่อนางมโนราห์ได้กลับไปที่เมืองก็จะได้มีพิธีชำระล้างกลิ่นอายมนุษย์ ฝ่ายพระสุธนที่กลับจากสงครามได้ลงโทษปุโรหิต และติดตามหานางมโนราห์ เมื่อเจอพระฤาษี พระสุธนจะติดตามนางมโนราห์ต่อไป โดยมีพระฤาษีค่อยช่วยเหลือ เปนเพราะเวรกรรมแต่ชาติที่แล้วนั่นคือ นางมโนราห์คือ พระนางเมรี และพระสุธนคือ พระรถเสน ทำให้พระสุธนได้รับความลำบากมาก เมื่อพระสุธนมาถึงสระน้ำอโนดาต ได้แอบเอาพระธำมรงค์ใส่ลงในคณโฑของนางกินรีนางหนึ่ง ซึ่งนางกินรีได้นำน้ำนั้นไปสรงให้นางมโนราห์ พระธำมรงค์ได้ตกลงมาที่แหวนของนางพอดี ทำให้นางรู้ว่าพระสุธนมาหานาง นางจึงได้แจ้งแก่พระมารดา ซึ่งพระบิดาต้องการทราบว่าพระสุธนมีความรักจิงต่อนางมโนราห์หรือไม่ ได้รับพระสุธนมาที่เมืองและให้พระสุธนบอกว่านางไหนคือนางมโนราห์ ซึ่งนางมโนราห์และพี่ๆๆมีหน้าตาละม้ายคล้ายคลึงกัน ร้อนถึงองค์อินทร์ ต้องแปลงกายมาเป็นแมลงวันทอง จับที่ผมของนางมโนราห์ ทำให้นางมโนราห์และพระสุธนได้เคียงคู่อย่างมีความสุข





นิทานเรื่องสามเณรกตัญญู


     ผู้แต่ง    :   นายเนติพงษ์     เที่ยงตรง


     จำนวน  :   12 หน้า


     เรื่องย่อ  :   แก้วเป็นเด็กดี  อยู่กับแม่ลาวัลย์สองคน    
                         แก้วชอบฟังนิทานมาก   นิทานทำให้แก้วเป็นเด็ก
                         ฉลาด  แต่แม่ลาวัลย์ไม่มีปัญญาส่งแก้วเรียนต่อ
                         แล้วแก้วจะเป็นอย่างไร ติดตามได้ในนิทานเรื่อง
                         สามเณรกตัญญูครับ

























สามารถดาวโหลดนิทานได้ที่นี่ครับ    Download