วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

รวมหนังสือนิทานอีบุ้ค (e-book)


ขอแนะนำ         บล็อกที่รวบรวมผลงานหนังสือนิทานอีบุ้ค 
(e-book) หรือหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ 
ผลงานทั้งหมดจัดทำขึ้นโดยนักศึกษาที่เรียนในรายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสานสนเทศเพื่อการศึกษา สอนโดย อาจารย์อัจฉริยะ วะทา โดยบล็อกนี้มีชื่อว่า

มีหนังสือนิทานอีบุ้คที่เป็นฝีมือของนักศึกษาในหลายๆ สาขา หลายเรื่องน่าอ่านและสามารถโหลดเก็บไว้หรือนำไปสอนได้ด้วย 

นอกจากนี้ก็ยังรวมผลงานการจัดทำบล็อกของนักศึกษาแต่ละสาขาวิชา จัดทำเพื่อเผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับความรู้ที่น่าสนใจไว้มากมาย


อย่าลืมนะครับ   เป็นเว็บที่อยากจะแนะนำ เหมาะสำหรับผู้ที่อยากจะทำหนังสือแบบทำมือและทำเป็นอีบุ้ค (e-book) ด้วย อย่าลืมบล็อก 


วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

นางประทุมวดี

จากวรรณคดีเรื่อง  โสวัต(ชาดกนอกนิบาต)




           เรื่องโสวัตหรือโสวัต นางประทุม เป็นนิทานโบราณที่ได้รับความนิยมในสังคมไทยสมัยอยุธยาสืบมาถึงสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น เรื่องย่อตามที่กล่าวในกลอนสวดสรุปได้ดังนี้
                พระ เจ้าพรหมทัต กษัตริย์แห่งเมืองพรหมกุฎ มเหสีชื่อสุมณฑาเทวี ประสูติโอรสนามว่า โสวัตกุมาร ขณะที่กำลังทรงพระครรภ์นั้น นางม้าตัวหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ใต้ถุนปรางค์ปราสาทก็ตั้งท้องและตกลูกเป็นม้าอาชา ในวันเดียวกับที่โสวัติประสูติ ยังมีนางฟ้าองค์หนึ่งจุติลงมาเกิดในดอกบัวใกล้อาศรมของพระดาบสที่ป่าหิมพานต์ พระดาบสพบเข้าก็นำมาเลี้ยงเป็นธิดา ให้นามตามชาติกำเนิดว่า ประทุมวดี อยู่มาจนอายุย่างเข้ารุ่นสาว วันหนึ่งนางเก็บดอกไม้ร้อยกรองเป็นพวงมาลัย เสี่ยงไปตามสายธารใกล้อาศรมทั้งอธิษฐานว่า หากใครเป็นคู่ของนางขอให้มาลัยนี้ลอยไปคล้องข้อมือผู้นั้นไว้ วันนั้นโสวัตกุมารลงสรงสนานในแม่น้ำ พวงมาลัยของนางประทุมวดีก็ลอยเข้าสวมข้อพระกรไว้ โหรทำนายว่า หากพระองค์เสด็จไปทางทิศตะวันออกจะได้เจ้าของมาลัยเป็นคู่ครอง

                 โสวัตกุมารสั่งให้เตรียมม้าอาชาไนยคู่บารมี ครั้นเสด็จประทับ ม้าก็โผนขึ้นบนอากาศ พาเหาะไปจนถึงอาศรมของพระดาบส ขณะนั้นพระดาบสไม่อยู่ โสวัตกุมารซุ่มดูอยู่พบนางประทุมวดีกำลังไกวชิงช้า ขับลำนำถึงมาลัยที่นางเสี่ยงไปตามสายน้ำ โสวัตจึงแสดงตนว่าเป็นผู้ได้มาลัยเสี่ยงทายของนางและติดตามมาจนพบเจ้าของ ทั้งสองฝากรักกันด้วยความเสน่หา
                เมื่อพระดาบสกลับมาโสวัตกุมารก็ฝาก ตัวเป็นศิษย์ ขอศึกษาวิชาอยู่ที่อาศรมนั้น อยู่มาพระดาบสก็จัดการอภิเษกโสวัตกับนางประทุมวดีให้ครองคู่กัน เวลาล่วงไปจนนางประทุมวดีตั้งครรภ์อ่อนๆ ฝ่ายม้าอาชาไนยท่องเที่ยวไปตามลำพังจนถึงกรุงชนบทของท้าวจิตราสูรจึงถูกพญายักษ์เจ้าเมืองจับขังไว้ในกรงเหล็ก
                วันหนึ่งโสวัตกับนางประทุมวดีเที่ยวแสดงหาผลไม้ในป่าไปถวายพระดาบส พรานป่านายหนึ่งเที่ยวล่าสัตว์ได้เห็นรูปนางประทุมวดีเข้า ก็ใคร่จะได้นางไปถวายพระราชาของตน จึงใช้ธนูพิษลอบยิงโสวัตจนสิ้นพระชนม์ แล้วบังคับให้นางประทุมวดีเดินทางไปกับตน เวลาล่วงไป ๑๕ วัน นางประทุมวดีทำอุบายให้พรานป่าวางใจแล้วใช้มีดทำร้ายจนพรานป่าถึงแก่ความตาย นางประทุมวดีเดินป่าตามลำพังจนถึงริมฝั่งแม่น้ำใหญ่แห่งหนึ่ง มีนายสำเภาแล่นเรือมาพบเข้า เห็นนางมีรูปโฉมงดงามก็ใคร่จะได้นางเป็นภริยา จึงบังคับให้ลงเรือไปด้วย นางทำอุบายหลอกนายสำเภาลงเรือเล็กหนีไปได้
                ฝ่ายพระดาบสคอยทั้งสองอยู่ที่อาศรมจนค่ำ เห็นผิดสังเกตก็ออกตามหา พบโสวัตถูกทำร้ายสิ้นชีพอยู่เพียงผู้เดียว จึงชุบชีวิตให้ฟื้นขึ้นและให้รีบติดตามนางประทุมวดีไป โสวัตได้รับความช่วยเหลือและได้ข่าวม้าอาชาไนยจากนางเงือกน้ำ กระทั่งเดินทางไปถึงกรุงชนบทของท้าวจิตราสูรและลอบได้นางพี่เลี้ยงศรีวรดี กับนางศุภลักษณ์ธิดาของท้าวจิตราสูรเป็นชายา โสวัตอยู่กับนางได้ระยะหนึ่งก็ทำอุบายจนได้ม้าอาชาไนยคืนแล้วออกติดตามหานาง ประทุมวดีจนพบและกลับคืนยังบ้านเมือง



นางในวรรณคดีไทย : ประทุมวดี  จาก ละครนอกเรื่องโสวัต

นางศกุนตลา


จากวรรณคดีเรื่อง  ศกุลตลา





                 พระวิความิตรเกิดนึกอยากมีฤทธิ์มากๆ จึงสละราชสมบัติ ออกบำเพ็ญตบะในป่าจนแก่กล้ายิ่ง ทำให้้เหล่าเทวดาพากันเดือดร้อนไปทั่ว พระอินทร์คิดแก้ไข โดยให้นางฟ้าเมนกา ลงมาใช้ความงามยั่วยวน เพื่อทำให้พระฤาษีตนนี้ไม่มีกะจิตกะใจจะบำเพ็ญเพียร ทั้งสองจึงครองคู่กัน จนกระทั่งให้กำเนิดธิดานางหนึ่ง พระวิศวามิตร

เมื่อผ่านพ้นระยะข้าวใหม่ปลามันเกิดคิดได้ จึงบอกนางเมนกากลับสวรรค์ ส่วนพระองค์ก็ออกไปจักรวาล
ทิ้งพระธิดาน้อยๆ อยู่ในป่าแต่เพียงลำพัง ยังดีที่ได้พวกนกคอยเลี้ยงดู เมื่อพระกัณวะดาบส มาพบเข้า จึงให้นามนางว่าศกุณตลา ซึ่งแปลว่านางนก และนำกลับไปเลี้ยงดูอย่างธิดาที่อาศรมของตน ต่อมานางเติบโตเป็นสาวแรกรุ่นที่งดงามอย่างหาที่ติไม่ได้

                 ต่อมานางได้พบกับท้าวทุษยันต์ กษัตริย์จันทรวงศ์ แห่งนครหัสดิน ซึ่งเสด็จประพาสป่าเพื่อล่าสัตว์ แล้วบังเอิญตามกวางมาถึงบริเวณใกล้เคียง จึงแวะมายังอาศรม หมายพระทัยจะมานมัสการพระกัณวะดาบส แต่ในตอนนั้นพระกัณวะดาบสไม่อยู่ เนื่องจากเดินทางไปบูชาพระเจ้าที่เทวสถาน เพื่อสะเดาะเคราะห์ให้แก่นางพวกปีศาจมารร้ายได้ถือโอกาสเข้ามาอาละวาดที่อาศรม รังควาญการบำเพ็ญเพียรของเหล่าพราหมณ์ผู้ศิษย์พระกัณวะดาบส ท้าวทุษยันต์เสด็จมาปราบปีศาจได้สำเร็จ เมื่อท้าวทุษยันต์มีโอกาสอยู่ตามลำพัง ทั้งสองได้เป็นของกันและกัน หลังจากทุกอย่างเป็นไปตามจุดมุ่งหมายแล้ว ท้ายทุษยันต์ได้มอบแหวนวงหนึ่งให้แก่นางแล้วรีบเดินทางกลับบ้านเมือง

               เช้าวันหนึ่งพระฤาษีทุรวาส ผู้มีปากร้ายได้มาเรียกนางที่หน้าประตู แต่นางไม่รู้ตัวด้วยกำลังป่วยเป็นไข้ใจจึงไม่ได้ออกไปต้อนรับ ทำให้พระฤาษีทุรวาสโกรธ สาปให้นางถูกคนรักจำไม่ได้ ต่อมาพระฤาษีทุรวาสหายโมโห แล้วจึงรู้ว่านางไม่ได้จงใจแสดงอาการไม่เคารพกับตน จึงให้พรกำกับแก่นางว่า หากคนรักของนางได้เห็นของที่ให้ไว้เป็นที่ระลึกก็จะจำนางได้

                 พระกัณวะดาบสได้ทราบเรื่องราวต่างๆของนางกับท้าวทุษยันต์ จึงส่งนางไปให้ท้าวทุษยันต์จัดพิธีีอภิเษก ในระหว่างทางนางทำแหวนที่ท้ายทุษยันต์ประทานให้ตกหายไปในแม่น้ำ เมื่อไปถึงที่หมาย ท้าวทุษยันต์จำนางไม่ได้ จนกระทั่งกุมภิล ชาวประมงจับได้ปลาที่กลืนแหวนนั้นไปจึงนำไป เมื่อท้าวทุษยันต์เห็นก็ได้สติ จำเรื่องราวต่างๆได้ สุดท้าย ท้าวทุษยันต์ก็ได้พบกับนางศกุนตลาอีกครั้ง หลังจากพลัดพรากจากกันไปเนิ่นนาน ด้วยความช่วยเหลือของพระเทพบิดรและพระเทพมารดร แล้วทั้งสองก็อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข


นางในวรรณคดีไทย : ศกุนตลา  จาก บทละครรำ ศกุนตลา

นางรจนา


จากบทละครนอกเรื่องสังข์ทอง



      บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย นางรจนาเป็นธิดาองค์สุดท้ายจากจำนวน 7 องค์ ของท้าวสามลหลังจากพี่ทั้งหกเลือกคู่ได้อย่างเหมาะสม แต่นางรจนากลับเลือกได้พระสังข์ที่ปลอมเป็นเจ้าเงาะรูปชั่วตัวดำจนต้องถูกเนรเทศไปอยู่ที่กระท่อมปลายหน้า สุดท้ายพระอินทร์ต้องแปลงร่างมาท้าตีคลีเพื่อช่วยให้เจ้าเงาะได้ถอดรูปให้ทุกคนเห็นรูปทองและความสามารถเช่นชายชาติกษัตริย์ที่มีอยู่
เนื้อเรื่อง
ท้าวยศวิมลมีมเหสีชื่อ นางจันท์เทวี มีสนมเอกชื่อนางจันทา ไม่มีโอรสธิดา จึงบวงสรวงและรักษาศีลห้าเพื่อขอบุตร และประกาศแก่พระมเหสีและทางสนมว่าถ้าใครมีโอรสก็จะมอบเมืองให้ครอง อยู่มานางจันท์เทวีทรงครรภ์ เทวบุตรจุติมา เป็นพระโอรสของนาง แต่ประสูติมาเป็นหอยสังข์ นางจันทาเกิดความริษยา จึงติดสินบนโหรหลวงให้ทำนายว่าหอยสังข์จะทำให้บ้านเมืองเกิดความหายนะท้าวยศวิมลหลงเชื่อนางจันทา จึงเนรเทศนางจันท์เทวีและหอยสังข์ไปจากเมือง
นางจันท์เทวีพาหอยสังข์ไปอาศัยตายายช่าวไร่ ช่วยงานตายายเป็นเวลา ๕ ปี พระโอรสในหอยสังข์แอบออกมาช่วยทำงาน เช่น หุงหาอาหาร ไล่ไก่ไม่ให้จิกข้าว เมื่อนางจันท์เทวีทราบก็ทุบหอยสังข์เสีย พระสังข์เห็นเช่นนั้นก็ร้องไห้รำพัน และนางจันท์เทวีเลี้ยงพระสังข์มาด้วยความรัก ฝ่ายท้าวยศวิมลเศร้าพระทัย เพราะอาลัยอาวรณ์นางจันท์เทวีมาก นางจันทาสังเกตเห็นงุ่นง่านใจกลัวจะไม่ได้เป็นใหญ่ จึงให้ยายเฒ่าสุเมธามาทำเสน่ห์ให้ท้าวยศวิมลหลงรักและทูลยุยงว่านางจันท์เทวีมีลูกชายมาอยู่ด้วยคนหนึ่งในป่าน่าจะเป็นลูกชู้ นำความเสื่อมเสียมาแก่ท้าวยศวิมล ให้ประหารพระสังข์เสีย ท้าวศวิมลหลงเชื่อ สั่งประหารพระโอรสของตนแต่ด้วยบุญญาธิทารกของพระสังข์ จะฆ่าอย่างไรพระสังข์ก็ไม่ตาย เมื่อท้าวยศวิมลทรงทราบว่าพระโอรสมิใช่หอยสังข์แต่เป็นพระกุมารที่มีบุญญาธิการ ท้าวเธอก็จะให้รับพระโอรสและนางจันท์เทวีกลับวัง แต่ถูกนางจันทาทัดทานไว้ และในที่สุดนางจันทาเสนอให้เอาไปถ่วงน้ำจมหายไปต่อหน้าพระมารดา ด้วยบุญของพระสังข์ ถูกหินถ่วงจมลงไปตรงปล่องนาคาอันเป็นประตูสู่เมืองบาดาล พญานาคคือท้าวภุชงค์มาพบเห็นพระสังข์นอนสลบอยู่ จึงนำไปเลี้ยง แต่เห็นว่าจะเลี้ยงกันไม่สะดวกเพราะตนเป็นนาค จึงส่งพระสังข์ไปให้เพื่อนรักคือนางพันธุรัตเลี้ยงดู นางพันธุรัตเป็นยักษ์ สามีเสียชีวิตแล้ว นางเลี้ยงพระสังข์ด้วยความรักอย่างจริงใจนางพันธุรัตและพี่เลี้ยงแปลงเป็นมนุษย์เลี้ยงพระสังข์มาจนอายุ ๑๕ ปี นางพันธุรัตห้ามขาดไม่ให้พระสังข์เข้าไปที่หวงห้ามแห่งหนึ่ง แต่วันหนึ่งเมื่อนางพันธุรัตไปหากินตามปกติ พระสังก็แอบเข้าไปที่นั่น ไปพบซากโครงกระดูกมนุษย์และสัตว์ใหญ่ เช่น ช้าง เสือ กวาง พบบ่อปิดบ่อหนึ่งเป็น บ่อเงิน อีกบ่อ เป็นบ่อทอง มีรูปเงาะ เกือกแก้วและไม้เท้า เมื่อลองสวมชุดเงาะและเกือกแก้วดูก็ สามารถเหาะไปมาได้ พระสังข์จึงวางแผนหลบหนีนางพันธุรัตเพื่อจะไปหาพระมารดา แล้ววันหนึ่งพระสังข์ก็ลงชุบตัวในบ่อทองแล้วสวมรูปเงาะจะเหาะหนีไป
นางพันธุรัตติดตามไป พระสังข์อธิษฐานไม่ให้นางพันธุรัตขึ้นไปได้ นางอ้อนวอนให้พระสังข์ลงมาหา แต่พระสังข์ไม่ยอมลงมา นางจึงเขียนมนต์เรียก เนื้อเรียกปลาไว้ให้ที่แผ่นศิลาเชิงเขา เรียกว่ามหาจินดามนต์ นางพันธุรัตร้องไห้อ้อนวอนพระสังข์จนทระทั่งอกแตกตายด้วยความอาลัยรักพระสังข์ ซึ่งขณะนั้นพระสังข์ก็สับสน ไม่เชื่อในคำของนาง พระสังข์ลงมาจัดการเรื่องศพพระมารดา โดยสั่งไพร่พลให้จัดการใส่พระเมรุ พระสังข์ก็ท่องมนต์ แล้วเหาะไปจนถึงเมืองท้าวสามนต์
ท้าวสามนต์มีธิดา ๗ นาง อยากจะให้นางทั้งเจ็ดมีคู่ เพื่อท้าวสามนต์จะได้ยกเมืองให้แก่เขยที่สามารถ มีปัญญาดี เป็นกษัตริย์ครองเมืองต่อไป พี่นางทั้งหกของนางรจนาเลือกได้เจ้าชายต่างเมืองเป็นสามี แต่รจนาธิดาองค์สุดท้องไม่เลือกใคร ท้าวสามนต์ให้ป่าวร้องชาวเมืองมาให้เลือกอีกหน รจนาไม่เลือก ในที่สุด ให้นำเจ้าเงาะมาให้เลือก ตั้งใจจะประชดนางรจนาที่ไม่เลือกใคร เลยนำเจ้าเงาะมาให้เลือก พระสังข์ในรูปเงาะเห็นนางรจนาก็พอใจในความงามของนาง จึงอธิษฐานให้นางเห็นรูปทองของพระองค์ซึ่งซ่อนอยู่ในรูปเงาะ รจนาได้เห็นรูปที่แท้จริงของพระสังข์ จึงเสี่ยงพวงมาลัยให้เจ้าเงาะ ท้าวสามนต์เสียใจมากจึงขับไล่นางรจนาให้ไปอยู่กับเจ้าเงาะที่ปลายนา ท้าวสามนต์รู้สึกอับอายและเสียเกียรติอย่างมากที่รจนาได้เจ้าเงาะเป็นสามี จึงวางแผนคิดฆ่าเจ้าเงาะโดยให้เขยทั้ง ๗ คนไปหาปลามาคนละ ๑๐๐ ตัว ใครได้น้อยจะถูกฆ่า พระสังข์ร่ายมนต์เรียกปลามาชุมนุมกัน หกเขยจึงหาปลาไม่ได้เลย มาพบพระสังข์ก็สำคัญผิดว่าเป็นเทวดาจึงขอปลาพระสังข์จึงให้ปลาคนละ ๒ ตัวโดยขอแลกกับการเชือดปลายจมูก ท้าวสามนตร์โกรธมากที่อุบายไม่เป็นผล จึงสั่งให้เขยทุกคนไปหาเนื้ออีก และก็เหมือนครั้งก่อน ด้วยเวทมนตร์ของพระสังข์ ฝูงเนื้อทรายทั้งหลายก็ไปชุมนุมอยู่กับพระสังข์ หกเขยได้เนื้อทรายไปคนละตัวโดยแลกกับการถูกเชือดใบหู
พระอินทร์รู้สึกว่าอาสน์ที่ประทับของพระองค์แข็งกระด้าง จึงส่องทิพยเนตรดูก็เห็นว่านางรจนามีความทุกข์เพราะเจ้าเงาะไม่ยอมถอดรูป ทำให้ต้องตกระกำลำบากและถูกท้าวสามนต์หาเหตุแกล้งอยู่เนืองๆ พระองค์จึงแปลงองค์ลงมาท้าตีคลีพนันเอาเมืองทับท้าวสามนต์ ท้าวสามนต์ให้หกเขย ไปตีคลีก็พ่ายแพ้ จึงจำใจไปอ้อนวอนเจ้าเงาะ เจ้าเงาะถอดรูปเป็นพระสังข์งดงามถูกใจท้าวสามนต์ ยิ่งได้ทราบว่าเป็นโอรสกษัตริย์ด้วยก็ยิ่งพอใจ พระสังข์ไปตีคลีได้ชัยชนะเพราะพระอินทร์แสร้งหย่อนอ่อนมือให้ พระอินทร์ไปเข้าฝันท้าวยศวิมลพระบิดาของพระสังข์เพื่อสั่งสอนให้รู้ดีรู้ชั่วและสั่งให้ไปรับนางจันท์เทวีเพื่อไปตามพระสังข์ ท้าวยศวิมลรับนางจันท์เทวีเดินทางไปตามพระสังข์ที่เมืองท้าวสามนต์ นางจันท์เทวีเข้าไปช่วยทำอาหารในฝ่ายที่ต้องทำอาหารถวายพระสังข์ นางนำชิ้นฟักมาแกะสลัก เป็นเรื่องราวชีวิตตั้งแต่หนหลังแล้วนำมาแกง พระสังข์เสวยแกงเห็นชิ้นฟักก็สงสัยจึงนำมาเรียงกันแล้วก็รู้เรื่องทั้งหมด ในที่สุดพ่อแม่ลูกก็ได้พบกันด้วยดี ท้าวยศวิมลขอโทษในความหลงผิดของตน และชวนกันกลับบ้านเมือง


นางในวรรณคดีไทย : รจนา  จาก สังข์ทอง

นางไอ่คำ

จากตำนานพื้นบ้านเรื่อง ผาแดงนางไอ่





นางไอ่คำ (ธิดาพระยาขอม) จากตำนานพื้นบ้านเรื่อง ผาแดงนางไอ่
นิทานท้องถิ่นอีสาน ที่สืบทอดกันมาตามตำนานเล่าขานสืบต่อมา มูลเหตุที่ทำให้เกิด "หนองหาน" เป็นวรรณคดีพื้นบ้านที่กล่าวถึงการทำบุญบั้งไฟ วัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่ของชาวอีสาน นางไอ่คำมีสิริโฉมงดงามเป็นที่เลื่องลือไปในนครต่างๆ ทั้งโลกมนุษย์และบาดาลจึงมีชายหนุ่มหมายปองมากมาย รวมทั้งท้าวผาแดงแห่งเมืองตาโพง และท้าวพังคี โอรสพญาสุทโธนาค เมืองบาดาล ซึ่งทั้งสองได้ผูกพันกับนางไอ่คำมาตั้งแต่อดีตชาติ ต่างช่วงชิงได้เคียงคู่กับนาง แต่ท้าวทั้งสองก็ต้องพลาดหวังเพราะแข่งขันบั้งไฟแพ้ ด้วยความรักและต้องการตัวนางไอ่คำ ท้างพังคีได้แปลงกายเป็นกระรอกเผือกคอยติดตามนางไอ่คำ สุดท้ายถูกฆ่าตาย ทำให้พญาสุทโธนาคผู้เป็นพ่อโกรธแค้นเข้ามาถล่มเมืองล่มไปกลายเป็นหนองน้ำใหญ่ คือ หนองหานในปัจจุบัน...
เนื้อเรื่อง
ตำนานพื้นบ้านเรื่องผาแดง-นางไอ่ มีความโดยย่อ คือ นางไอ่เป็นธิดาพระยาขอมผู้ครองเมืองชะธีตา นางไอ่เป็นสตรีที่มีสิริโฉมงดงามเป็นที่เลื่องลือไปในนครต่างๆ ทั้งโลกมนุษย์และบาดาล มีชายหนุ่มหมายปองจะได้อภิเษกกับนางมากมาย
ในจำนวนผู้ที่มาหลงรักนางไอ่ มีท้าวผาแดงและท้าวพังคี โอรสสุทโธนาค เจ้าผู้ครองนครบาดาล ท้าวทั้งสองต่างเคยมีความผูกพันกับนางไอ่มาแต่อดีตชาติ จึงต่างช่วงชิงจะได้เคียงคู่กับนาง แต่ก็พลาดหวัง จึงมิได้อภิเษกทั้งคู่เพราะแข่งขันบั้งไฟแพ้
ท้าวพังคีนาคไม่ยอมลดละ แปลงกายเป็นกระรอกเผือกคอยติดตามนางไอ่ สุดท้ายถูกฆ่าตาย พญานาคผู้เป็นพ่อจึงขึ้นมาถล่มเมืองล่มไป กลายเป็นหนองน้ำใหญ่ คือ หนองหาน


นางในวรรณคดีไทย : ไอ่คำ  จาก ผาแดง-นางไอ่